วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

มาดู มาตรฐานหลอดไฟกันคับ

มารู้จัก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก) กันคับ 

เรื่องๆใกล้ตัว ที่คุณอาจยังไม่รู้

   หลายคนๆที่เคยซื้อหลอดไฟจาก ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือ ร้านค้าปลีก คงพบเจอสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ ที่ข้างกล่อง หรือ อุปกรณ์ คุณอาจสงสัยว่านี่คืออะไร

   วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันคับ

   ก่อนอื่นขออธิบายความหมายของ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม (มอก.) ที่หมายถึง ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน ลักษณะอันสำคัญของผลิตภัณฑ์ คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งจะบอกรวมไปถึงวิธีการทดสอบ เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่ ทั้งในด้านความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และสมราคา พูดง่ายๆ เครื่องหมายนี้จะช่วยรับประกันคุณภาพของสินค้านั้นเอง

   โดยมอก.นั้นจะประกอบด้วยหมายเลขชุดแรก ไว้บอกลำดับที่ในการออกเลข กับ หมายเลขชุดหลัง ไว้บอกปี พ.ศ.ที่ออกเลข  



   ซึ่งตรามาตรฐานสำหรับหลอดไฟนั้นจะมี 2 แบบคือ
  1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป  ที่ผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองด้วยความสมัครใจเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐาน
    2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องทำตามมาตรฐาน และต้องแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
 ที่นี้เราลองมาดูมาตรฐานประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลอดไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างอื่นๆ กันคับ
ตัวอย่าง มาตรฐานหลอดไฟ
  • มอก 236-2533 มาตรฐานชนิดทั่วไปสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ด้านคุณภาพเกี่ยวกับ คุณสมบัติทางไฟฟ้า อายุการใช้งาน รูปร่างและมิติของหลอด เช่น หลอดต้องจุดติดสว่างอย่างน้อยสมบูรณ์ภายในระยะเวลาที่ระบุ และยังคงติดสว่างอย่างต่อเนื่อง ค่าเริ่มต้นของกำลังไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าตามเกณฑ์ รวมทั้งค่าเริ่มต้นฟลักซ์การส่องสว่างของหลอดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 ของค่าที่กำหนด เป็นต้น 
  • มอก 1506-2541 มาตรฐานทั้วไปสำหรับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีลักษณะเฉพาะ เช่น อุณหภูมิสูงสุดขณะใช้งานบริเวณผิวนอกของบัลลาสต์ ค่ากระแสไฟฟ้าของตัวจ่าย ความถี่และแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด 

ตัวอย่าง บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
  • มอก 344-2549 มาตรฐานบังคับสำหรับขั้วหลอดฟลูออเรสเซนต์ และขั้วรับสตาร์ทเตอร์  ด้านเทคนิคและมิติ เพื่อกําหนดความปลอดภัยและความพอดีในการสวมหลอดเข้ากับขั้วรับหลอด และสตาร์ตเตอร์เข้ากับขั้วรับสตาร์ตเตอร์ โดยผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบและทําขั้วรับให้อยู่ในลักษณะที่สามารถทํางานได้ตามปกติ ไม่ทําให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ มีการป้องกันทางไฟฟ้า ฉนวนต้องไม่เสื่อมคุณภาพ และจุดเชื่อมต่อต่างๆ ต้องไม่หลุดหลวม ทนทานต่อการใช้งาน 
                   
                                             ขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนต์            ขั้วรับสตาร์ทเตอร์
  • มอก 956-2533 มาตรฐานบังคับสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบกระแสสลับ เฉพาะด้านความปลอดภัย โดยกำหนดให้ขั้วหลอดต้องติดแน่นอยู่กับหลอดและมีความทนทานต่อโมเมนต์บิต ความต้านทานของฉนวนระหว่างฝาครอบกับขั้วหลอดต้องไม่น้อยกว่า 2 เมกะโอห์ม รวมทั้งมีรูปร่างและมิติเป็นไปตามข้อกำหนด 


ตัวอย่าง วงจรไฟฟ้า สำหรับ หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบกระแสสลับ
  • มอก. 885-253 มาตรฐานทั่วไปสำหรับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ เฉพาะด้านความปลอดภัย จะเน้นการทำงานของบัลลาสต์เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานและสภาพแวดล้อม ทั้งในภาวะการทำงานปกติและภาวะผิดปกติ (ภาวะผิดปกติ คือ การไม่ได้ใส่หลอดหรือใส่หลอดไม่ครบทุกหลอด ไส้หลอดข้างใดข้างหนึ่งขาด หลอดเสื่อมสภาพ หรือเกิดการลัดวงจรของสตาร์ตเตอร์) โดยกำหนดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์ พร้อมป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว เป็นต้น
  • มอก. 1955-2551 มาตรฐานบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ส่องสว่างและผลิตภัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือกระจายแสงเป็นหลัก เช่น ป้ายโฆษณานีออน ,  โคมไฟภายนอกอาคาร และอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับการขนส่ง (ติดตั้งในรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ) เป็นต้น โดยเน้นตรงความเข้ากันได้ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พร้อมบอกขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุ ซึ่งมีพิสัยความถี่ที่ครอบคลุมคือ 9 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 400 จิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้สามารถระงับสัญญาณรบกวนในขอบเขตที่สมเหตุสมผล ขณะเดียวกันก็ยังมีการป้องกันทางวิทยุและความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เพียงพอ
ตัวอย่าง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

   หวังว่าข้อมูลแก่ทุกท่านที่สละเวลามาอ่าน ไม่มากก็น้อย เพื่อนๆที่มาข้อสงสัยต่างๆ สามารถสอบถามข้อมูลได้จาก >> https://www.facebook.com/Tiangjarerns/ หรือสอบถามข้อมูลโดยตรงที่

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ) 


เพื่อนสามารถค้นหา ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ มอกจาก >>> ที่นี่ 

อ่านบทความอื่นๆต่อดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น