มารู้จัก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก) กันคับ
เรื่องๆใกล้ตัว ที่คุณอาจยังไม่รู้
หลายคนๆที่เคยซื้อ
หลอดไฟจาก ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือ ร้านค้าปลีก คงพบเจอสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ ที่ข้างกล่อง หรือ อุปกรณ์ คุณอาจสงสัยว่านี่คืออะไร
วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันคับ
ก่อนอื่นขออธิบายความหมายของ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม (มอก.) ที่หมายถึง ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน ลักษณะอันสำคัญของผลิตภัณฑ์ คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งจะบอกรวมไปถึงวิธีการทดสอบ เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่ ทั้งในด้านความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และสมราคา พูดง่ายๆ เครื่องหมายนี้จะช่วยรับประกันคุณภาพของสินค้านั้นเอง
โดยมอก.นั้นจะประกอบด้วยหมายเลขชุดแรก ไว้บอกลำดับที่ในการออกเลข กับ หมายเลขชุดหลัง ไว้บอกปี พ.ศ.ที่ออกเลข
ซึ่งตรามาตรฐานสำหรับหลอดไฟนั้นจะมี 2 แบบคือ
1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป ที่ผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองด้วยความสมัครใจเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐาน
2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องทำตามมาตรฐาน และต้องแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ที่นี้เราลองมาดูมาตรฐานประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลอดไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างอื่นๆ กันคับ
ตัวอย่าง มาตรฐานหลอดไฟ
- มอก 236-2533 มาตรฐานชนิดทั่วไปสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ด้านคุณภาพเกี่ยวกับ คุณสมบัติทางไฟฟ้า อายุการใช้งาน รูปร่างและมิติของหลอด เช่น หลอดต้องจุดติดสว่างอย่างน้อยสมบูรณ์ภายในระยะเวลาที่ระบุ และยังคงติดสว่างอย่างต่อเนื่อง ค่าเริ่มต้นของกำลังไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าตามเกณฑ์ รวมทั้งค่าเริ่มต้นฟลักซ์การส่องสว่างของหลอดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 ของค่าที่กำหนด เป็นต้น
- มอก 1506-2541 มาตรฐานทั้วไปสำหรับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีลักษณะเฉพาะ เช่น อุณหภูมิสูงสุดขณะใช้งานบริเวณผิวนอกของบัลลาสต์ ค่ากระแสไฟฟ้าของตัวจ่าย ความถี่และแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด
ตัวอย่าง บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
- มอก 344-2549 มาตรฐานบังคับสำหรับขั้วหลอดฟลูออเรสเซนต์ และขั้วรับสตาร์ทเตอร์ ด้านเทคนิคและมิติ เพื่อกําหนดความปลอดภัยและความพอดีในการสวมหลอดเข้ากับขั้วรับหลอด และสตาร์ตเตอร์เข้ากับขั้วรับสตาร์ตเตอร์ โดยผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบและทําขั้วรับให้อยู่ในลักษณะที่สามารถทํางานได้ตามปกติ ไม่ทําให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ มีการป้องกันทางไฟฟ้า ฉนวนต้องไม่เสื่อมคุณภาพ และจุดเชื่อมต่อต่างๆ ต้องไม่หลุดหลวม ทนทานต่อการใช้งาน
ขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขั้วรับสตาร์ทเตอร์
- มอก 956-2533 มาตรฐานบังคับสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบกระแสสลับ เฉพาะด้านความปลอดภัย โดยกำหนดให้ขั้วหลอดต้องติดแน่นอยู่กับหลอดและมีความทนทานต่อโมเมนต์บิต ความต้านทานของฉนวนระหว่างฝาครอบกับขั้วหลอดต้องไม่น้อยกว่า 2 เมกะโอห์ม รวมทั้งมีรูปร่างและมิติเป็นไปตามข้อกำหนด
- มอก. 885-253 มาตรฐานทั่วไปสำหรับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ เฉพาะด้านความปลอดภัย จะเน้นการทำงานของบัลลาสต์เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานและสภาพแวดล้อม ทั้งในภาวะการทำงานปกติและภาวะผิดปกติ (ภาวะผิดปกติ คือ การไม่ได้ใส่หลอดหรือใส่หลอดไม่ครบทุกหลอด ไส้หลอดข้างใดข้างหนึ่งขาด หลอดเสื่อมสภาพ หรือเกิดการลัดวงจรของสตาร์ตเตอร์) โดยกำหนดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์ พร้อมป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว เป็นต้น
- มอก. 1955-2551 มาตรฐานบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ส่องสว่างและผลิตภัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือกระจายแสงเป็นหลัก เช่น ป้ายโฆษณานีออน , โคมไฟภายนอกอาคาร และอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับการขนส่ง (ติดตั้งในรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ) เป็นต้น โดยเน้นตรงความเข้ากันได้ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พร้อมบอกขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุ ซึ่งมีพิสัยความถี่ที่ครอบคลุมคือ 9 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 400 จิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้สามารถระงับสัญญาณรบกวนในขอบเขตที่สมเหตุสมผล ขณะเดียวกันก็ยังมีการป้องกันทางวิทยุและความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เพียงพอ
ตัวอย่าง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หวังว่าข้อมูลแก่ทุกท่านที่สละเวลามาอ่าน ไม่มากก็น้อย เพื่อนๆที่มาข้อสงสัยต่างๆ สามารถสอบถามข้อมูลได้จาก >>
https://www.facebook.com/Tiangjarerns/ หรือสอบถามข้อมูลโดยตรงที่
เพื่อนสามารถค้นหา ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ มอกจาก >>> ที่นี่
อ่านบทความอื่นๆต่อดังนี้