วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

การเลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี


การเลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

ปัจจุบันในหลายครัวเรือนมีการใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงกันแพร่หลาย ซึ่งปลั๊กไฟสายพ่วงมีหลากหลายประเภท หลายยี่ห้อ ผู้ใช้งานหลายรายใช้งานที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง จุดประสงค์หลักของปลั๊กไฟสายพ่วงถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับงานชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาใช้งานงานแบบถาวร ดังนั้นห้ามนำไปติดตั้งหรือใช้งานแบบเสียบตลอดเวลาเพราะสายไฟอาจเกิดการชำรุด ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ บทความนี้จะกล่าวถึงปลั๊กไฟสายพ่วง ในเรื่องต่างๆต่อไปนี้
คุณลักษณะที่ดีของปลั๊กไฟสายพ่วง
1. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้มสายไฟด้านในอีกชั้นหนึ่งรวม 2 ชั้น เพื่อป้องกันความปลอดภัยจากการที่สายอาจจะชำรุดหรือขาดได้ง่าย


2. เต้ารับต้องทำด้วยทองเหลือง

3. มีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเกิน อาทิ ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์


4. ควรเป็นสายอ่อนที่มีสายทองแดงย่อยๆ มีขนาดสายรวมไม่ต่ำกว่า 0.824 ตารางมิลลิเมตร (sqmm)
หรือสายเบอร์ 18 AWG (แนะนำให้ใช้สายที่มีค่าสูงกว่า 1.0 sqmm)

หมายเหตุ : ตัวอย่าง ตารางเทียบขนาดสาย


หลักการเลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วง

1. เลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วงที่ในส่วนของสายไฟอ่อนต้องได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)ประเภทสายไฟทองแดงหุ้มด้วยโพลิไวนิลคลอไรด์ มอก. 11-2531

2. พิจารณาคุณลักษณะ คุณภาพของวัสดุที่นำมาทำชุดปลั๊กไฟสายพ่วง ทั้งในส่วนของเต้าเสียบ เต้ารับ อุปกรณ์ป้องกันและรางปลั๊กไฟ ต้องดูแน่นหนา สภาพแข็งแรง ไม่หลวมหลุดง่าย เต้ารับต้องทำด้วยทองเหลือง ตัวปลั๊กเสียบต้องเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน แข็งแรง บริเวณขั้วปลั๊กกับส่วนของสายไฟต้องมีข้อยืดหยุ่นรองรับการงอได้ดี
3. ปลั๊กไฟสายพ่วงที่ดีต้องมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กจากเต้าเสียบ
4. ปลั๊กไฟสายพ่วงที่ดีต้องมีฟิวส์ หรือ BREAKER ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าหากใช้ไฟฟ้าเกินขนาดที่กำหนด
5. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เพื่อความปลอดภัยจากการหักงอหรือถูกของมีคมทำให้สายไฟชำรุด
6. ระบุค่าแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดใช้งานได้ระหว่าง 220- 250 โวลต์ ที่เหมาะกับไฟฟ้าในประเทศไทย
7. วัสดุทำรางเต้ารับผลิตจากพลาสติกเอวีซี (AVC) ซึ่งเนื้อพลาสติกจะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าพลาสติกพีวีซี (PVC) ลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้กรณีเกิดความร้อนสูง



Credit : http://mediath3.blogspot.com

มอก. 11-2531)

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

6 เทคนิคจัดแสงไฟในห้องต่าง ๆ ของบ้าน


จัดแสงไฟในบ้านให้เหมาะสมกับห้องต่าง ๆ แต่ละห้องควรใช้ไฟแบบไหน วันนี้เรามีเทคนิคจัดแสงไฟในห้องต่าง ๆ มาฝาก
แต่ละห้องของบ้าน ก็ย่อมมีสไตล์การตกแต่งและความต้องการในการใช้งานที่ต่างกัน ซึ่ง “แสงไฟ” ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงฟีลลิ่งของแต่ละห้องได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเพื่อให้ห้องต่าง ๆ ภายในบ้านมีบรรยากาศที่เหมาะสม วันนี้กระปุกดอทคอมมีเทคนิคการแต่งแสงไฟภายในห้องมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ
1. ห้องนอน
ห้องนอนเป็นห้องสำคัญของทุกคน ซึ่งบรรยากาศภายในห้องนอนควรรู้สึกสงบและอบอุ่น อีกทั้งควรให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เพราะเป็นห้องที่ใช้ในการพักผ่อนอย่างแท้จริง ดังนั้นแสงไฟในห้องนอนจึงควรใช้แสงไฟที่ไม่สว่างจัด เช่น แชนเดอเลียร์, ไฟซ่อนผนัง, ไฟฝังฝ้า หรือจะเป็นหลอดไฟในบ้านทั่ว ๆ ไปก็ได้ แต่ไม่ควรให้แสงอ่อนมากเกินไป หากมีการอ่านหนังสือควรใช้แสงสว่างให้เพียงพอ หรือมีโคมไฟหัวนอนเสริม
 ภาพจาก Michael Fullen Design Group 
2. ห้องนั่งเล่น
ห้องนั่งเล่นคือจุดสำคัญ ที่มีไว้รับแขกและใช้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เรียกว่าเป็นห้องอเนกประสงค์ที่สามารถปรับเปลี่ยนแสงไฟได้หลากหลายให้ตรงกับความต้องการ แต่ควรให้มีแสงสว่างมากหน่อย เช่น ใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือหากอยากให้มีความนุ่มนวลสวยงาม อาจใช้แสงไฟนวล ๆ จากหลอดสีส้ม หรือแสงไฟเฉพาะจุดที่เน้นงานศิลปะ ตู้โชว์ ฯลฯ ก็ได้
ภาพจาก Avenue Lifestyle 

3. ห้องน้ำ
เป็นอีกหนึ่งห้องที่มีความสำคัญสำหรับทุกคนในบ้าน เพราะเราต้องใช้ห้องน้ำกันวันละหลายครั้ง ดังนั้นเพื่อให้ห้องน้ำไม่เกิดความอับชื้น มองเห็นทางเดินได้ชัดเจน ไม่ลื่นล้ม ควรเลือกแสงไฟที่สว่าง ๆ หากเปิดให้แสงธรรมชาติถ่ายเทผ่านเข้ามาได้มากยิ่งดี ทั้งนี้หากมีโต๊ะเครื่องแป้งสำหรับแต่งหน้า แต่งตัว อยู่ภายในห้องน้ำ ให้ติดไฟรอบ ๆ กระจกด้วยแสงอ่อนนุ่ม
  ภาพจาก DKOR Interiors 
4. ห้องครัว
สำหรับห้องครัวที่เราใช้ประกอบอาหาร ควรใช้แสงไฟสว่างตั้งแต่แสงปกติไปจนถึงสว่างเป็นพิเศษ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ทั่วไป หรือหลอดไฟฮาโลเจนก็ได้ และควรเปิดช่องให้มีอากาศถ่ายเท มีแสงจากธรรมชาติเข้ามามากที่สุด เนื่องจากในห้องครัวไม่ควรเป็นจุดอับ อีกทั้งควรเพิ่มแสงสว่างใต้เครื่องดูดควัน หรือใต้ตู้เก็บของชั้นบนด้วย
 ภาพจาก Cynthia Marks Interiors 
5. ห้องทำงาน
ห้องทำงานคือห้องที่ต้องใช้สมาธิมาก ความเงียบสงบ สบาย ๆ และไม่จัดจ้าน จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากกว่า ดังนั้นแสงที่ใช้ในห้องทำงานจึงควรเป็นแสงธรรมชาติ หรือหลอดไฟแสงสีขาว เพื่อให้สีภายในห้องไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะเมื่อต้องเพ่งสายตากับคอมพิวเตอร์นาน ๆ
ภาพจาก Heather Merenda 
6. ห้องรับประทานอาหาร
การเพิ่มบรรยากาศดี ๆ ให้กับห้องรับประทานอาหาร ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการเลือกแสงไฟที่สว่างและสะอาดตา โดยเฉพาะแสงไฟสวย ๆ จากแชนเดอเลียร์เหนือโต๊ะอาหาร ที่จะทำให้ทุกจานบนโต๊ะอาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น ทั้งนี้โคมไฟควรเล็กกว่าด้านกว้างของโต๊ะประมาณ 6-12 นิ้ว และสูงเหนือโต๊ะประมาณ 2 ฟุต
ถึงแม้ว่าแต่ละห้องจะมีสไตล์การตกแต่งที่แต่งต่างกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเพิ่มความใส่ใจในการเล่นแสงไฟเข้าไปด้วย ก็จะช่วยทำให้แต่ละห้องมีบรรยากาศที่น่าอยู่มากขึ้น รู้อย่างนี้แล้วลองจัดแสงไฟในห้องต่าง ๆ ให้ถูกต้องกันนะคะ
ภาพจาก Amanda Miller Design Studio 
(Credit : kapook.com)

6 วิธีประหยัดค่าไฟบ้านช่วงหน้าร้อน




วิธีประหยัดค่าไฟบ้าน ไม่ได้ทำยากอย่างที่คิดคับ เพราะแม้อากาศจะร้อนขึ้นทุกวัน ๆ แต่ถ้าเราอยากจะลดค่าไฟบ้านในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ต้องรีบไปดูทริคประหยัดไฟด่วน วันนี้ผมขอเสนอ 6 วิธีง่ายๆ
1. ปรับอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสเสมอ
ถึงจะเป็นคำแนะนำที่ฟังกันมาจนชิน แต่หลายคนก็ยังเปิดแอร์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสอยู่บ่อย ๆ เช่น 22 องศาเซลเซียส เป็นต้น ซึ่งเราก็เข้าใจว่าอากาศมันร้อนจริง ๆ แต่รู้ไหมคะว่า หากคุณคงอุณหภูมิแอร์ให้ไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสได้ล่ะก็ ค่าไฟของคุณจะลดลงไปอีกหลายบาทจนน่าแปลกใจเลยล่ะ ไม่เชื่อลองทำแบบนี้ดูสักเดือนสิ
2. เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า เลิกใช้ซะ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มานาน มีสภาพเกือบทำงานไม่ไหวแล้ว เป็นตัวเพิ่มกำลังไฟชั้นดีให้บ้านเราอย่างคาดไม่ถึงเลยนะคะ ดังนั้นหากคุณมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อายุการใช้งานเกิน 3 ปีขึ้นไป ต้องหมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานของเหล่านี้กันหน่อย หรือถ้าเป็นไปได้ก็เลิกใช้ไปซะน่าจะประหยัดกว่า
3. ทำความสะอาดตู้เย็นให้หมดจด
การทำความสะอาดตู้เย็นในที่นี้หมายถึง ให้คุณจัดการเคลียร์อาหารเก่าเก็บ เน่าเสียออกจากตู้เย็นเป็นประจำ รวมทั้งหมั่นกดละลายน้ำแข็ง และทำความสะอาดตู้เย็นไม่ให้มีคราบสกปรกด้วย เนื่องจากตู้เย็นที่เต็มไปด้วยของมากมาย แถมยังไม่ค่อยได้รับการดูแลเท่าที่ควร จะใช้พลังงานมากกว่าปกติอีกหลายเท่า เพิ่มค่าไฟให้สูงขึ้นอย่างไร้ประโยชน์ใด ๆ
4. ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
หลายคนอาจจะคิดว่า แค่กดปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงกริ๊กเดียว ก็เท่ากับตัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าได้แล้ว แต่จริง ๆ ต้องบอกอย่างนี้ค่ะว่า หากคุณปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ไม่ได้ถอดปลั๊กไฟ กระแสไฟฟ้าก็ยังคงไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ เพื่อเป็นการสแตนด์บายให้คุณกดเปิดสวิตช์ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกครั้งได้เลยทันที ฉะนั้นการถอดปลั๊กจึงเป็นวิธีตัดกระแสไฟฟ้าที่ชัวร์ที่สุด โดยเฉพาะเหล่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบเปิด-ปิด อัตโนมัติ เมื่อไม่ใช้งานก็ควรต้องถอดปลั๊กทุกครั้งด้วยนะคะ
5. มาใช้หลอดไฟ LED กันเถอะ
ด้วยข้อดีที่ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าหลอดไส้ธรรมดาถึง 80-90% และอายุการใช้งานที่คงทนมากว่า 11 ปี หรือราว ๆ 1 แสนชั่วโมง เลยทำให้หลอดไฟ LED กลายเป็นหลอดไฟที่บ้านสมัยใหม่เลือกใช้เป็นอันดับหนึ่ง และเมื่อได้รู้อย่างนี้แล้ว ก็หันมาใช้หลอดไฟ LED กันน่าจะประหยัดกว่า
6. ใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ปริมาณการใช้ไฟน้อ
ช่วงเวลาที่ปริมาณการใช้ไฟน้อยจะอยู่ราว ๆ 22.00-06.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนกำลังนอนหลับ และการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ทำงานในเวลานี้ จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังไฟสำหรับการนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาในการทำงานน้อยลง ประหยัดไฟบ้านได้อีกหลายบาทเชียวล่ะ

ค่าไฟจะมากหรือจะน้อย ไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเราเองด้วย ดังนั้นนอกจากทำตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว ก็อย่าลืมสอดส่องเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านด้วยนะคะ หากพบเจอว่าปลั๊กตรงไฟเสียบคาไว้ โดยไม่ได้ใช้งาน ก็ให้รีบถอดปลั๊กออกด่วน ๆ เลย เป็นต้น

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560




วิธีเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับประเภทของงาน  เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดและเป็นอันตรายเมื่อนำไปใช้งาน

ชนิดของสายไฟ

             สายไฟจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ สายสำหรับไฟแรงดันต่ำและสำหรับไฟแรงดันสูง ในบทความนี้จะกล่าวถึงสายไฟที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนซึ่งจัดเป็นสายไฟแรงดันต่ำ สำหรับประเทศไทย สายไฟแรงดันต่ำจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2531 หรือ TIS-11-2531 ตามมาตรฐานแล้วสายไฟแรงดันต่ำจะมีหลายขนาด (พื้นที่หน้าตัด) ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งจะทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 300 โวลต์ ถึง 750 โวลต์ สายไฟตามมาตรฐาน มอก.11-2531 จะแบ่งเป็นประเภทตามขนาด ความทนแรงดันไฟและการใช้งาน ได้ดังนี้

             1 สายไอวี (IV) สายชนิดนี้เป็นสายเดียวหรือแกนเดี่ยวชนิดทนแรงดันไฟ 300 โวลต์ใช้เป็นสายเดินเข้าอาคารสำหรับที่พักอาศัยที่ใช้ระบบ 1 เฟสและห้ามใช้กับระบบ3เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์ การใช้งาน ถ้าเดินสายลอยต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน หรือ เดินในช่องเดินสายสายในสถานที่แห้ง แต่ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

             2 สายวีเอเอฟ (VAF) เป็นสายชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์มีทั้งชนิดเป็นสายเดี่ยวสายคู่และที่มีสายดินอยู่ด้วย ถ้าเป็นสายเดี่ยวจะเป็นสายกลมและถ้าเป็นชนิด 2 แกนหรือ 3 แกนจะเป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้มแล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งสายคู่จะนิยมเดิน ตามฝาผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) หรือเดินในช่องเดินสาย แต่ห้ามเดินฝังดินโดยตรง การจะเดินสายประเภทนี้ใต้ดินจะต้องเดินในท่อฝังดินที่ปีกานป้องกันน้ำซึม เข้าท่อ ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไปสายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์เช่นกัน (ในระบบ3เฟสแต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ1 เฟสแรงดัน 220 โวลต์จะใช้ได้)



             3 สายทีเอชดับเบิลยู (THW) เป็นสายไฟฟ้า ชนิดทนแรงดัน 750โวลต์เป็นสายเดี่ยวนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้าสามเฟสปกติ แกนของสายประเภทนี้มีตัวนำทองแดงจะมีหลายสายร้อยเป็นสายใหญ่หนึ่งแกน การใช้งานคือใช้เดินลอยด้วยตัวยึดทำจากวัสดุฉนวน เดินในช่องเดินสาย หรือเดินในท่อฝังดินที่มีการป้องกันน้ำซึมเข้าสู่ท่อ แต่ห้ามฝังดินโดยตรง



             4 สายเอ็นวายวาย (NYY) มีทั้งชนิดแกน เดียวและหลายแกนสายหลายแกนก็จะเป็นสายกลมเช่นกันสายชนิดนี้ทนแรงดัน 750โวลต์นิยมใช้อย่างกว้างขวางเช่นกันเนื่องจากถูกออกแบบให้มีความคงทนต่อ สภาพแวดล้อมเพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งบางสำหรับสายเอ็นวายวายชนิดสายเดี่ยว สายชนิดนี้จะมีฉนวนหุ้มแกนหนึ่งชั้นและมีเปลือกเพียงชั้นเดียวทำหน้าที่ ป้องกันความเสียหายทางกาย สำหรับสายเอ็นวายวายที่มีหลายแกนขึ้นไปอาจจะถูกเรียกว่าสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียวอีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนร้อยเกลียวเข้าด้วยกันจนมีลักษณะกลม และมีเปลือกนอกหุ้มแล้วอีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ สายเอ็นวายวายหลายแกนจะมีชนิด  2 แกนและ 4 แกนซึ่งแล้วแต่ความต้องการใช้งาน สายชนิดนี้จะมีเปลือกสองชั้นดังกล่าวแล้วข้างต้น สายเอ็นวายวายชนิด 4 แกนมีสายนิวทรัลรวมอยู่ด้วยเรียกว่าเป็นสายเอ็นวายวาย-เอ็น (NYY-N) คือมีสายไฟอยู่3เส้นและมีสายนิวทรัลอีกหนึ่งเส้นมีขนาดพื้นที่หน้าตัดประมาณ ครึ่งหนึ่งของสายเส้นไฟจึงเหมาะที่จะใช้ในวงจร 3 เฟส4สาย อีกประเภทหนึ่งคือสายชนิดเอ็นวายวาย-กราวด์ (NYY-G) คือเป็นสายชนิด 2แกน 3แกน และ4แกนที่มีสายดิน (Groud) รวมอยู่ด้วยอีกหนึ่งเส้นจึงเหมาะที่จะใช้ต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน สายเอ็นวายๆทุกชนิดสามารถเดินใต้ดินได้โดยตรงเพราะมีเปลือกชั้นอกทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อม



             5 สายวีซีที (VCT) เป็นสายกลมมีทั้ง1แกน 2 แกน 3 แกนและ 4 แกน สามารถทนแรงดัน 750 โวลต์มีฉนวนและเปลือกเช่นกันกับสายเอ็นวายวาย มีข้อพิเศษกว่าก็คือตัวนำจะประกอบด้วยทองแดงฝอยเส้นเล็กๆร้อยรวมกันเป็นหนึ่งแกน ทำให้มีข้อดีคืออ่อนตัวและทนต่อสภาพการสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะที่จะใช้เป็นสายเดินเข้าเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนขณะใช้งานสายชนิดนี้ใช้งานได้ทั่วไปเหมือนสายชนิดเอ็นวายวาย นอกจากนี้ยังมีสายวีซีทีเป็นชนิดวีซีที-กราวด์ (VCT-G) ซึ่งมี2 แกน 3 แกน และ 4 แกน และมีสายดินเดินรวมไปด้วยอีกเส้นหนึ่งเพื่อให้เหมาะสำหรับใช้กับเครื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน สายวีซีทีสามารถเดินแบบฝังดินโดยตรงได้


  
 
สายไฟฟ้ามีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็น ตัวนำทองแดง และตัวนำอะลูมิเนียมแต่ละชนิดยังแบ่งได้เป็นหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่ กับประเภทการใช้งานของลูกค้า ยกตัวอย่างสายตัวนำทองแดงหุ้มด้วยฉนวนและเปลือกพีวีีซีและมีลักษณะสายที่แข็งโค้งงอได้ยาก ได้แก่สาย THW VAF VAF-GRD NYY NYY-GRD 0.6/1KV-CV สายตัวนำทองแดงที่มีลักษณะนิ่มโค้งงอได้ง่าย ได้แก่สาย VCT VCT-GRD VSF AV VFF VKF ส่วนสายตัวนำอะลูมิเนียมหุ้มด้วยฉนวนและเปลือกพีวีีซีและมีลักษณะสายที่แข็งโค้งงอได้ยากเช่นกัน ได้แก่สาย THW-A THWA-C NAY SAC25-35KV ในแต่ละประเภทยังแบ่งเป็นขนาดต่างๆซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนั้นในการพิจารณาเลือกสายไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น มีหลายข้อด้วยกันที่ต้องพิจารณา ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ ความเชื่อถือได้ และความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อกำหนดที่ต้องพิจารณาในการเลือกสายไฟฟ้า ได้แก่ พิกัดแรงดัน( Voltage Rating),พิกัดกระแส( Current Rating ), แรงดันตก( Voltage Drop ), สายควบ( Multiple Conductors ) 

 
ประเภทของสายไฟฟ้า

   สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable) : เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไม่เกิน 750 V. เป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม โดยทั่วไปเป็นสายทองแดงสายขนาดเล็กจะเป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำคือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross-Linked Polyethylene (XLPE) ได้แก่ สาย  THW, VAF, VAF-GRD, NYY, NYY-GRD, 0.6/1KV-CV, VCT, VCT-GRD, VSF, AV, VFF, VKF
  
สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable) : เป็นตัวตีเกลียวมีขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สายเปลือย และสายหุ้มฉนวน
   1. สายเปลือย : - สายอลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย (AAC)
  
- สายอลูมิเนียมผสม (AAAC)
  
- สายอลูมิเนียมแกนเหล็ก (ACSR)
  
2. สายหุ้มฉนวน : - สาย Partial Insulated Cable (PIC)
  
- สาย Space Aerial Cable (SAC)
  
- สาย Preassembly Aerial Cable
  
- สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)
สายไฟฟ้าที่ผลิตตามมาตรฐานอื่น
หมายถึง สายไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตตามมาตรฐาน มอก 11-2531 หรือ มอก 293-2541 จึงเป็นสายไฟฟ้าทองแดงหรืออะลูมิเนียม ที่หุ้มฉนวนชนิดอื่น ที่นอกเหนือไปจากฉนวนชนิด PVC. ฉนวนที่นิยมใช้ก็คือ ครอสลิงค์โพลีเอททีลีน (Cross-Linked Polyethylene ) นิยมเขียนเป็นอักษรย่อว่า XLPE มีคุณสมบัติพิเศษคือ ทนอุณหภูมิได้สูง และมีความเข็งทนต่อแรงเสียดสีได้ดี